วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

งานชิ้นที่1

          โต๊ะเขียนแบบใช้กับไม้ทีฉาก โต๊ะที่ใช้เขียนแบบ เป็นโต๊ะที่มีแผ่นพื้นเป็นสี่เหลี่ยมมีผิวเรียบมีขอบด้านข้างทั้งด้าน เรียบเป็นมุมฉาก สามารถปรับเอียงได้ ด้าน
การบำรุงรักษา
ควรรักษาผิวและบริเวณขอบโต๊ะไม่ให้มีรอยและสิ่งสกปรก พร้อมทั้งต้องได้ฉากอยู่เสมอโต๊ะเขียนแบบแบบรางเลื่อนมีอุปกรณ์ปรับองศาเป็นโต๊ะที่มีความมั่นคงและมี อุปกรณ์การเขียนแบบอยู่บนโต๊ะ โดยไม่ต้องนำไม้ที และฉากมาใช้ประกอบ
การใช้งาน
สามารถใช้งานได้สะดวกในทุกตำแหน่งมีการเคลื่อนที่ทางด้านซ้ายขวาพร้อมทั้งเคลื่อนที่ขึ้นลงได้สะดวก การปรับมุมได้ทุกรูปแบบหน้าจอของหัวโปรแทรกเตอร์และเวอร์เนียร์สเกล
การบำรุงรักษา
ควรรักษาผิวโต๊ะและบรรทัดไม่ให้มีรอยขีดข่วนและสิ่งสกปรกการใช้เวอร์เนียร์สเกล  และโปรเจ็คเตอร์อยู่ในตำแหน่ง0องศาตรงกันควรตรวจสอบว่าแขนจับเวอร์เนียร์สเกลและโปรเจ็คเตอร์ ติดแน่นอยู่กับโต๊ะเขียนแบบ

บรรทัดขนาน(ParallelSlide)เข้าไปประกอบกับโต๊ะเขียนแบบโดยมีลูกรอกอยู่ด้านในมีเชือกคล้องที่ปลายทั้งสองด้านและปลายเชือกอีกด้านหนึ่งผูกติด กับสกรูบริเวณด้านล่างของโต๊ะ ทำให้บรรทัดขนาน สามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ตามแนวของเส้นเชือก
การใช้งาน  ใช้งานคู่กับฉาก การบำรุงรักษา  ควรรักษาผิว และบริเวณขอบบรรทัดขนานไม่ให้มีรอย และสิ่งสกปรก
มีส่วนประกอบ ส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนใบ ส่วนใบจะมีสเกล บอกขนาดอยู่ตรงบนส่วนใบของไม้ที
การใช้งาน 
ใช้เขียนเส้นในแนวระดับโดยวางไม้ทีให้หัวไม้ทียึดติดแน่นกับขอบโต๊ะด้านข้างซ้ายมือส่วนใบไม้ทีวางอยู่บนโต๊ะส่วนหัว
การบำรุงรักษา
ควรรักษาขอบไม้ทีที่สัมผัสกับโต๊ะเขียนแบบ และขอบด้านบนให้เรียบไม่มีรอยโค้งเว้า หรือไม่สม่ำเสมออย่าให้สกรูที่ยึดบริเวณหัวไม้ทีและใบไม้ทีคลายตัว จะทำให้ไม้ทีไม่ได้ฉาก
           ทีสไลด์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำงานในลักษณะเดียวกับไม้ที สามารถนำมาประกอบกับโต๊ะเขียนแบบ หรือกระดาษเขียนแบบได้ ใช้หลักการทำงานของเชือกและรอกมีความสะดวกรวดเร็วและมีความขนานเที่ยงตรงกว่าไม้ที
ฉากสามเหลี่ยม แบ่งออกเป็น ลักษณะ คือ ฉากสามเหลี่ยมมุมคงที่แบ่งออกเป็น แบบ ดังนี้ 
แบบมุม 45 องศา 45 องศาและ 90 องศา มุม 30 องศา 60 องศา และ 90 องศา
 ฉากสามเหลี่ยมแบบมุมคงที่สามารถใช้เขียนเส้นทำมุม 15 องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90องศาโดยใช้ฉากทั้งสองชิ้นมาประกอบกัน
การใช้งาน  
ฉากสามเหลี่ยมแบบปรับองศาได้ สามารถปรับมุมได้ตาม  ความต้องการใช้งานใช้เขียนเส้นในแนวดิ่งและเส้นใน  
แนวเอียงทำมุมใช้คู่กับไม้ที 
วิธีการสร้างมุมต่างจากฉากแบบคงที่   ฉากสามเหลี่ยมแบบมุมคงที่สามารถใช้เขียนเส้นทำมุม
15องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90 องศาโดยใช้ฉากทั้งสองชิ้นมาประกอบกัน
ฉากที่ปรับองศาได้ฉากที่มีมุม 45, 45, 90ฉากที่มีมุม 30, 60, 90

 
สร้างมุมต่างจากฉากแบบคงที่ 
มาตรฐานกระดาษ
ขนาดกระดาษ (มม.)
พื้นที่เขียนแบบ (มม.)
A0
841 x 1189
831 x 1179
A1
594 x 841
584 x 831
A2
420 x 594
410 x 584
A3
297 x 420
287 x 410
A4
210 x 297
200 x 287
A5
148 x 210
138 x 200
A6
105 x 148
95 x 138
การใช้งาน รายการแบบส่วนใหญ่ออกแบบไว้ให้มีรายละเอียดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
กระดาษเขียนแบบ  แบบฟอร์มแนวนอน
การใช้งาน   ติดกระดาษให้แน่นลงบนโต๊ะเขียนแบบด้วยเทปกาววางกระดาษเขียนแบบโดยให้ขอบบนขนานกับไม้ที 
การบำรุงรักษา   อย่าทำให้กระดาษเขียนแบสกปรก หรือพับให้มีรอยย่น 
ดินสอเปลือกไม้มี เกรด คือ  H, HB และ B
ดินสอเขียนแบบ
ดินสอเปลี่ยนไส้ (ดินสอกด) มีขนาด 0.25 mm., 0.35 mm.,  0.5 mm  แต่ที่นิยมใช้ในงานเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น คือ  0.5 mm.
ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบจะถูกแบ่งออกเป็นเกรดตามความอ่อนแข็งของไส้ดินสอคือ
1.      ดินสอไส้อ่อน  เกรดที่ใช้คือ  2B  3B  4B  5B  6B  7B
2.      ดินสอไส้ปานกลาง  เกรดที่ใช้คือ  B  HB  F  H  2H   3H
5.      ดินสอไส้แข็ง  เกรดที่ใช้คือ  4H  5H  6H  7H  8H  9H

         ในการเขียนแบบนั้น ช่างเขียนแบบจะต้องมีดินสอหลายแท่ง  แต่สำหรับนักเรียนให้ใช้ดินสอนไส้ปานกลางเพียงแท่งเดียวก็พอ คือ เกรด HB  การจับดินสอควรให้จับดินสอเอียง 60 องศาและควรหมุนดินสอไปด้วยเล็กน้อยขณะที่ขีดเส้น เพื่อเส้นจะได้คมและเสมอกันโดยตลอด 
การจับดินสอควรให้เอียง 60 องศา
มีดที่ใช้สำหรับเหลาดินสอนั้นนักเรียนสามารถซื้อได้ในราคาที่ไม่สูงนัก เมื่อใช้แล้วก็ควรใช้ผ้าเช็ดส่วนที่เป็นเหล็ก เพื่อไม่ให้เกิดสนิม
การใช้งาน   ควรเลือกใช้ดินสอให้เหมาะสมกับมาตรฐานในงานเขียนแบบ   กรณีที่ใช้ดินสอเหลา ควรเหลาไส้ให้มีปลายแหลมอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรใช้ดินสอเหลาที่มีขนาดสั้นมาก ๆ จนจับดินสอไม่ได้
การบำรุงรักษา
ไม่ควรนำดินสอเคาะลงบนโต๊ะ หรืออุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ จะทำให้ไส้ดินสอหักได้ ควรเลือกใช้ดินสอที่ได้มาตรฐาน เมื่อเวลาเขียนแบบไส้ดินสอจะได้ไม่หักบ่อย
ยางลบมีหลายประเภทแบ่งออกเป็น ประเภทคือยางลบหมึก ยางลบดินสอการใช้งาน  
ใช้ลบเส้นในงานเขียนแบบที่เกิดจากการเขียนผิดพลาด  ควรเลือกใช้ยางลบที่มีคุณภาพดี มีความอ่อนนุ่ม สามารถลบรอยดินสอที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายโดยที่แบบสะอาด กระดาษไม่ซ้ำและไม่ขาด
การบำรุงรักษา  ควรรักษายางลบให้มีสีขาวตลอดเวลา ไม่ควรให้มีรอยดินสอ สิ่งสกปรกติดอยู่บนยางลบ
                  ปากกาเขียนแบบใช้สำหรับการเขียนแบบลงในกระดาษไข ลักษณะเป็นปากกาหมึกซึม เส้นที่เขียนจะได้ความหนาของเส้นตามมาตรฐาน มีหลายขนาดตั้งแต่ 0.13, 0.18, 0.25, 0.35, 0.5, 0.7, 1.0, 1.4 และ 2 .0 มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร เช่น ปากกาเบอร์ 0.5 เมื่อเขียนเส้นแล้วจะได้เส้นที่มีความหนา 0.5 มม.
            ใช้สำหรับติดมุมกระดาษ เพื่อไม่ให้กระดาษเลื่อนและสะดวกในการเขียนแบบ
วงเวียนมีอยู่หลายแบบ เช่นใช้กับดินสอได้อย่างเดียว ใช้ กับดินสอและปากกาได้ภายในอันเดียว

วงเวียน
การใช้งาน  ใช้สำหรับเขียนส่วนโค้ง วงกลหรือถ่ายขนาดในกรณีที่ใช้ ไม้บรรทัดวัดไม่ได้ใช้มือขวาจับเพียงหัววงเวียน  และใช้ปลายแหลมปักจุดศูนย์กลาง  ส่วนปลายที่มีดินสอใช้ในการเขียนวงกลม  หรือส่วนโค้ง
การบำรุงรักษา   ควรตรวจสอบวงเวียนก่อนใช้งานในบริเวณจุดหมุนควรยึด แน่นไม่หลวม และคลอนใส้ดินสอที่ใช้กับวงเวียนควรเลือก หรือเหลาให้ได้ตามมาตรฐานเส้นในงานเขียนแบบ
          บรรทัดโค้งมีหลายแบบ  ซึ่งจะมีเป็นชุดกับฉากสามเหลี่ยม และแบบที่ไม่ได้ประกอบกับฉากสามเหลี่ยมเรียกว่ากระดูกงู (Flexibie Curves) เป็นบรรทัดที่อ่อนสามารถดัดให้โค้งเป็นรูปต่างๆได้ตามต้องการ
การใช้งาน   ใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งที่วงเวียนไม่สามารถเขียนได้เลื่อนบรรทัดโค้งตามไปครั้งละ จุดจนกว่าจะได้รูปตาม  ต้องการเลือกใช้บรรทัดโค้งให้เหมาะสมกับส่วนโค้งใช้เขียนเส้นโค้งทับจุด ที่ทำการจุดไว้ให้ได้อย่างน้อยจุดแล้วเขียนเส้นผ่านตามจุดตามที่กำหนดไว้ 
การบำรุงรักษา   ควรรักษาขอบของบรรทัดโค้งไม่ให้มีรอยโค้ง เว้า หรือสิ่งสกปรกบนบรรทัดโค้ง
การใช้งาน   ใช้เขียนวงกลม และวงรีที่มีขนาดไม่ใหญ่ ใช้เขียนอักษรในกรณีลายมือผู้เขียนไม่สวย 
การบำรุงรักษา   ควรรักษาขอบเพลทวงกลมวงรีไม่ให้มีรอยโค้งเว้า หรือ  สิ่งสกปรกบนบรรทัดโค้ง

 
บรรทัดวัดระยะแบบสามเหลี่ยม
         เป็นเครื่องมือวัดขนาดมี มาตราส่วนคือ มาตราส่วนอังกฤษ หน่วยระยะความยาวเป็นนิ้วฟุต และมาตราส่วนเมตริก มีหน่วยความยาวเป็น มิลลิเมตร เซนติเมตร แต่ในงานเขียนแบบในปัจจุบันจะใช้ระบบเมตริก ซึ่งมีหลายแบบ เช่น บรรทัดสามเหลี่ยม บรรทัดตรง และบรรทัดโค้ง
การใช้งาน   ใช้วัดขนาดความยาวตาม มาตราส่วนที่กำหนดอยู่  บรรทัดแต่ละด้าน จะมีมาตราส่วน    1:20, 1:25, 1:50, 1:100, 1:75, 1:125 กำหนดอยู่   
บรรทัดวัดระยะแบบแบน
การใช้งาน   บรรทัดวัดระยะแบบแบนใช้สำหรับวัดขนาดตามมาตราวัด ระบบอังกฤษ และเมตริก  ด้วยอัตราส่วน 1:1
บรรทัดโค้ง
การใช้งาน  ใช้วัดความเอียงของเส้นเช่นเอียงซ้าย30 องศาเอียงขวา 60 องศาเครื่องมือวัดขนาดมี  2 มาตรส่วน  มาตรส่วนอังกฤษหน่วยระยะความยาวเป็นนิ้วฟุต  มาตรส่วนเมตริก มีหน่วยความยาวเป็นมิลลิเมตร เซนติเมตร ปัจจุบันจะใช้ระบบเมตริก  วิธีบำรุงรักษา 
-   
ควรรักษาอย่าให้ขอบของเครื่องมือวัดมีรอยโค้งเว้า และสิ่ง สกปรกบนเครื่องมือวัด
-  
ควรรักษาอย่าให้ขอบของเครื่องมือวัดมีรอยโค้งเว้า และสิ่ง สกปรกบน เครื่องมือวัด
-  
ควรรักษาอย่าให้ขอบของเครื่องมือวัดมีรอยโค้งเว้า และสิ่ง สกปรกบน เครื่องมือวัด
-  
ควรรักษาสเกลบนเครื่องมือวัด   อย่าให้ลบ   หรือลอกหายไปจาก เครื่องมือวัด
วิธีการเขียนภาพ2 และ 3 มิติ




เริ่มต้นฝึกฝนจากการลากเส้นตรง เส้นตั้ง เส้นนอน เส้นเฉียง โดยกำหนดจุดต้นและปลายขึ้นมา จากนั้นเล็งให้ตรงและลากผ่านทั้ง 2 เส้น

การฝึกลากเส้นโค้ง โดยกำหนดจุดไว้อ้างอิง 3 จุดและให้แต่ละครั้งที่ลากเส้นมีการเหลื่อมกันเล็กน้อย


ฝึกการลากเส้นโค้งโดยมีโครงสร้างของรูปทรงในใจเนื่องจากเมื่อออกแบบเสร็จ งานของเราสามารถกำหนดระยะได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้ง่าย


ภาพนี้แสดงโครงสร้างรูปทรงที่ซ่อนอยู่ในเส้นโค้งเช่น วงกลม วงรีภาพ PERSPECTIVE ประกอบด้วยเส้นระดับสายตา HORIZON LINE (H.L.) และจุดสายตา VIEW POINT (V.P.)1 POINT PERSPECTIVE ลักษณะการเขียนจะเห็นด้านระนาบของวัตถุเช่นด้านหน้าหรือด้านข้างเป็น 2 มิติ จากนั้นลากเส้นความลึกเข้าไปในจุด V.P.

2 POINT PERSPECTIVE เริ่มจากการเขียนเส้นระดับาสยตา จากนั้นกำหนดจุดV.P.ซ้ายขวาทั้งสองจุด เริ่มเขียนเส้นสันของกล่องก่อน จากนั้นให้ลากไปที่จุด V.P.ทั้งสองจุด เพื่อกำหนดระยะความลึก



3 POINT PERSPECTIVE จะคล้ายการเขียน 2 POINT จะต่างกันตรงที่เส้นตั้งจะลากไปยังจุด V.P.3



ฝึกเขียนกล่องในมุมมองต่างๆตั้งแต่ 1,2,3 จุด และจินตนาการถึงการลากเส้นระดับสายตาและจุดสายตาในสมอง ฝึกเขียนกล่องตามหลักการนี้ให้คล่อง


การกำหนดระยะให้วัตถุ





เมื่อรู้จักกับภาพ PERSPECTIVE แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการกำหนดระยะพิกัด ให้กับกล่องโดยให้มีระยะเท่ากันและให้ความลึกเป็นระยะลดหลั่นกันไปตามระยะทางใกล้ไกล เริ่มโดยการเขียนกล่องแรกให้สมบูรณ์จากนั้นเขียนเส้นทะแยงมุมเพื่อหาจุดศูนย์กลางของกล่อง ลากเส้นผ่านจุดศูนย์กลางกล่องขนานไปกับขอบบน ขอบล่างของกล่อง จากนั้นให้ลากเส้นจากมุมกล่องผ่านเส้นตัดกึ่งกลางที่ตัดกับเส้นสันของกล่อง ไปตัดกับสันอีกครั้งหนึ่งจะได้ระยะที่เท่ากันของอีกกล่อง
การเขียนแสง - เงา



แสงแบบแสงธรรมชาติ (Sun Light) วิธีการเขียน ลากเส้นจากฐานของสี่เหลี่ยมเป็นเส้นขนาน จากนั้นลากเส้นจากมุมด้านบนของสี่เหลี่ยมเป็นเส้นเฉียง องศาเท่าใดก็ได้ขึ้นอยู่กับการกำหนดตำแหน่งของแสง



แสงแบบแสงธรรมชาติ (Sun Light) วิธีการเขียน ลากเส้นจากฐานของสี่เหลี่ยมเป็นเส้นขนาน จากนั้นลากเส้นจากมุมด้านบนของสี่เหลี่ยมเป็นเส้นเฉียง องศาเท่าใดก็ได้ขึ้นอยู่กับการกำหนดตำแหน่งของแสง


แสงจากแหล่งกำเนิดแสงโดยมนุษย์สร้างขึ้นหรือแสงจากไฟฟ้า (Artificial Light) จะมีข้อสังเกตคือเงาจะบานออกจากแหล่งกำเนิดแสง
การเขียนวงกลมวงรี ฝึกโดยลากเส้นนอนสองเส้นเพื่อกำหนดความสูงของวงรี และเริ่มวาดวงกลมวงรีโดยพยายามให้เส้นสัมผัสกันพอดีเพื่อให้เกิดทักษะความแม่นยำ ในการกำหนดมุมมองของทรงกระบอก จากนั้นทำความรู้จักกับเส้น MAJOR AXIS ที่เป็นเส้นความยาวของวงรีและ MINOR AXIS แทนความกว้างหรือความลึกของวงรี ซึ่ง 2 เส้นนี้จะตั้งฉากกันเสมอ จากนั้นสามารถวาดรูปเพื่อสร้างสรรค์ทรงกระบอกได้ตามต้องการ
ฝึกเขียนสิ่งของใกล้ตัว โดยเริ่มเขียนจากรูปทรงกล่องแล้วทำการเพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไป ลบมุมชิ้นงาน

ฝึกเขียนผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ง่ายไปจนซับซ้อน จากเหลี่ยมไปโค้งมนไปเรื่อยๆจนคล่อง






*******************


วิธีการเขียนภาพ 3 มิติ




1. ความหมายของภาพภาพสามมิติหมายถึง การเขียนภาพโดยการนำพื้นผิวแต่ละด้านของชิ้นงานมาเขียนประกอบกันเป็นรูปเดียว ทำให้สามารถมองเห็นลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ได้ทั้งความกว้าง ความยาว และความหนาของชิ้นงาน ทำให้ภาพสามมิติมีลักษณะคล้ายกับการมองชิ้นงานจริง ภาพสามมิติที่เขียนในงานเขียนแบบมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันในการวางมุมการเขียน และขนาดของชิ้นงานจริง กับขนาดชิ้นงานในการเขียนแบบซึ่งผู้เขียนแบบต้องศึกษาลักษณะของภาพสามมิติแต่ละประเภทต่างๆ ให้เข้าใจ เพื่อสามารถปฏิบัติการเขียนแบบได้อย่างถูกต้อง





2. ประเภทของภาพสามมิติ
ภาพสามมิติสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้




2.1 ภาพสามมิติแบบ TRIMETRIC เป็นภาพสามมิติที่มีความสวยงาม และลักษณะคล้ายของจริงมากที่สุดและเป็นภาพที่ง่ายต่อการอ่านแบบเพราะเป็นภาพที่เขียนได้ยาก เนื่องจากมุมที่ใช้เขียนเอียง 12 องศา และ








23 องศา และอัตราความยาวของแต่ละด้านไม่เท่ากัน (ดังรูป 7.1)
รูปที่ 7.1 ลักษณะของภาพ TRIMETRIC




2.2 ภาพสามมิติแบบ DIMETRIC เป็นภาพสามมิติที่มีลักษณะคล้ายกับภาพถ่ายและง่ายต่อการอ่านแบบ แต่ไม่ค่อยนิยมในการเขียนแบบเพราะเป็นภาพที่เขียนได้ยาก เนื่องจากมุมที่ใช้เขียน เอียง 7 องศา และ 42 องศา และขนาดความหนาของภาพที่เขียนจะลดขนาดลงครึ่งหนึ่งของความหนาจริง (ดังรูป 7.2)
รูปที่ 7.2 ลักษณะของภาพ DIMETRIC








2.3 ภาพสามมิติแบบ ISOMETRIC เป็นภาพสามมิติที่นิยมเขียนมาก เพราะภาพที่เขียนง่าย เนื่องจากภาพมีมุมเอียง 30 องศา ทั้งสองข้างเท่ากัน และขนาดความยาวของภาพทุกด้านจะมีขนาดเท่าขนาดงานจริง ภาพที่เขียนจะมีขนาดใหญ่มากทำให้เปลืองเนื้อที่กระดาษ(ดังรูป 7.2)





7.17.2


7.3






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น